2024泰國文化課~泰國的印度神明補充「坤陀古瑪爾之矛」by 阿南教授
作者:阿南教授 (Anant Laulertvorakul / ตร. อนันต์ เหล่าเลิศวรกุล)
หอกแห่งพระขันทกุมาร 坤陀古瑪爾之矛
พระขันทกุมารเป็นบุตรแห่งพระศิวะมหาเทพและพระนางปารวตีมเหศวรีเทพอรไท นาม ขันทกุมาร มีแต่คนไทยเท่านั้นที่เรียก คนอินเดียซึ่งนับถือศาสนาฮินดูมักเรียกว่า สฺกนฺท (Skanda) หรือ กุมาร (Kumāra) ชื่อใดชื่อหนึ่ง ไม่ใช่นำทั้ง ๒ ชื่อมาเรียกรวมกันอย่างไทย
穆盧幹勳爵是濕婆大天神和帕爾瓦蒂女神的兒子,坤陀古瑪爾這個名字只有泰國人才稱呼。信奉印度教的印度人通常被稱為 Skanda 或 Kumāra,而不是像泰國那樣將這兩個名字合併使用。
ชื่อ สฺกนฺท แปลว่า ‘ผู้โจนหรือพุ่ง (ใส่ศัตรู)’ จากรากศัพท์ skand = ‘จู่ โจน โจม โลด โผน พุ่ง ซัด’ ความหมายของชื่อนี้ ประมาณว่า พระขันทกุมารนั้น พร้อม “บวก” กับปัจจามิตรทุกเมื่อ ไม่เป็นแม่ทัพเดี่ยวนำคณะภูตและเหล่าเทพโจมจู่ศัตรูตามลำพัง ก็นำทัพหน้าฟันฝ่าปัจจามิตรโดยหาญกล้า นับว่าเป็นนามที่เหมาะแก่เทพแห่งสงครามยิ่งนัก ภาษาไทยจับคำนี้บวชเป็นบาลีจำแลง จึงแผลงได้เกิดนามแบบไทยๆ ว่า (พระ) ขันท (กุมาร)
Skantha 意思是「衝向或猛撲(敵人)」,其詞根skand 意為「衝、猛撲、襲擊、跳躍、拋射」,這個名字的意思是坤陀古瑪爾隨時準備迎戰敵人,無論是率領鬼神與天神軍隊進攻敵人,還是親自勇敢地在前線作戰,這都是他作為戰神的最佳體現。在泰國,這名字被改編為巴利語形式,因此演變為泰式名字 (Phra)Khanta(Kumar)。
Skanda (ส. สฺกนฺท) > *hkanda > *Khanda (บ. *ขนฺท)
Skanda (S. Skantha) > *hkanda > *Khanda (B. *Khanda)
ส่วนนาม กุมาร แปลว่า ‘ผู้ตาย (ง่าย) กระไรเช่นนี้’ หมายถึง เด็กตั้งแต่วัยแบเบาะจนไปถึงเป็นวัยรุ่น ตามภารตเทวปกรณัมกล่าวว่า เมื่อถือกำเนิดได้เพียงไม่กี่วัน ยุวเทพหน่อเนื้อแห่งพระศิวะองค์นี้ก็กรีธาทัพจับเทพศัตราวุธปราบอสูร ๓ ตนพี่น้อง ตารกะอสูรตนพี่ถูกสังหาร ศูรปัทมาน้องอสูรคนกลางยอมเป็นมยุรพาหนะ สิงหมุขะอสูรน้องสุดท้องยอมเป็นสิงห์พาหนะให้พระแม่ทุรคา โดยเหตุที่เกร่งกล้าแต่เยาว์วัย และคงรูปเป็นเด็กหรือหนุ่มน้อยอยู่เป็นนิรันดร์ ศิวบุตรองค์นี้จึงได้นามว่า กุมาร
至於古瑪爾的意思是「脆弱易逝之人」,意指嬰兒至青少年之間的年齡階段。根據婆羅多天神神話,,這位濕婆的幼子在出生後僅數天便率軍征戰,使用神武擊敗三位兄弟惡魔。老大 塔拉卡 被殺,中間的 蘇帕德瑪 投降並成為孔雀座騎,而小弟 辛哈穆卡 成為杜爾迦女神的獅子座騎。由於坤陀古瑪爾從小就展現了非凡的力量,且始終以年輕男子的形象存在,因此得名 古瑪爾。
กำเนิดของพระขันทกุมารนั้นอัศจรรย์พันลึกยิ่งนัก แต่ต้องขอยกไว้ก่อน ไม่เช่นนั้นบทความนี้จะยืดยาวเกินควร
坤陀古瑪爾的誕生極為奇妙,但在此略去,以免本文過於冗長。
พระขันทกุมารก็เช่นเดียวกับเทพองค์อื่นของศาสนาฮินดู คือ มีชื่อมากกว่าร้อย ที่นิยมเรียกกันจริงๆ ก็เช่น กรรตติเกยะ (ส. การฺตฺติเกย) แปลว่า ‘บุตร (เลี้ยง) แห่งดาวลูกไก่’ สุพรหมัณยะ (ส. สุพฺรหฺมณฺย) แปลว่า ‘ผู้เป็นที่รักยิ่งแห่งพราหมณ์พรหมัน’ มยูรวาหนะ (ส. มยูรวาหน) แปลว่า ‘ผู้มีนกยูงเป็นพาหนะ’ แต่ชื่อที่น่าสนใจที่สุด คือ ศักดิธร (ส. ศกฺติธร)
印度教的其他神靈一樣,坤陀古瑪爾有上百個名字。
,其中較常見的包括:
- 卡提克耶 (Kārtikeya):意為「昴宿星的養子」。
- 蘇普拉瑪尼亞 (Supramanya):意為「深受婆羅門喜愛者」。
- 摩尤拉瓦哈那 (Mayuravahana):意為「以孔雀為座騎者」。
- 最有趣的名字是 沙克提達拉 (Śaktidhara),意為「持槍者」
นาม ศักดิธร หากแปลแบบผิวเผิน ก็จะได้ว่า ‘ผู้ถือหอก’ เพราะพระขันทกุมารมีหอกรูปใบโพธิ์เป็นเทพศัสตราวุธคู่พระหัตถ์ เทวตำนานเล่าแตกเป็น ๒ ทาง
Sakdithorn這個名字按字面上翻譯的話,意思是“持矛者”,因為坤陀古瑪爾擁有一把菩提葉形的矛作為武器。其來源神話有兩種。
ทางหนึ่งเล่าว่า พระพิษณุกรรม (ส. วิศฺวกรฺมนฺ) ลอกผิวนอกของพระอาทิตย์ออก ๑ ส่วนจาก ๘ ส่วนเพื่อไม่ให้เทพแห่งดวงตะวันส่องแสงแรงกล้าจนร้อนเกินกว่าที่บุตรีของเทพการช่างจำทนอยู่ด้วยได้ แล้วพระพิษณุกรรมก็นำประกายจ้าจากผิวพระอาทิตย์มานิรมิตเป็นเทพศัสตราวุธแจกจ่ายแก่ทวยเทพ หนึ่งในนั้นก็คือหอกของพระขันทกุมาร
一種說法是,毗濕瓦卡爾曼 (S. Vishwakarman) 從太陽神的外層剝下八分之一的表皮,以減弱太陽的炙熱,讓自己的女兒能忍受這種光熱。他將這光芒打造為神武,分發給眾天神,其中一件便是坤陀古瑪爾的茅。
อีกทางหนึ่งว่า พระอุมาไหมวดีเทพมาตาเป็นผู้ประทานแก่พระขันทกุมารบุตรอันเป็นที่รักยิ่งของพระนาง ตำนานนี้แม้ไม่หวือหวาเท่าตำนานแรก แต่น่าสนใจตรงที่พระอุมาไม่เลือกประทานอาวุธอื่น จำเพาะประทาน ‘หอก’ แด่พระขันทกุมาร ภาษาสันสกฤตคำว่า ศกฺติ śakti (> ท. ศักติ / ศักดิ์) นอกจากแปลว่า ‘หอก’ แล้ว ยังแปลว่า ‘กำลัง อำนาจ’ ด้วย ที่สำคัญ ศักติ ยังหมายถึง กำลังของเทพ มหาเทพ หรืออวตารแห่งมหาเทพ ซึ่งปรากฏประจักษ์ในรูปเทพ มหาเทพ หรืออวตารแห่งมหาเทพนั้นๆ ในร่างเทพสตรี เช่น ศักติของพระอินทร์ คือ อินทราณีเทวี ศักติของพระวิษณุ คือ ไวษณวีเทวี ศักติของนรสิงห์อวตารปางที่ ๔ ของพระวิษณุ คือ นารสิงหี หรือศักติหมายถึงชายาของมหาเทพเสียเอง เช่น พระลักษมีเป็นศักติของพระวิษณุ พระอุมาเป็นศักติของพระศิวะ
另一種說法,是它是烏瑪女神賜予她最寵愛的兒子坤陀古瑪爾的。雖不如第一種傳說那般驚奇,但令人注意的是,烏瑪選擇了槍作為武器,而非其他。梵文中 śakti (> T. Sakti / Sakti) 除了意為“矛”之外,還意味著“力量、權力”,重要的是,它象徵天神、大天神或化身的力量,通常以女神的形態出現。例如,因陀羅的沙克提是因陀羅尼女神,毗濕奴的沙克提是拉克什米女神,濕婆的沙克提則是帕爾瓦蒂女神。
ดังนั้น หอกที่พระอุมามารดาแห่งสวรรค์ประทานแก่เทพสงครามจึงมิใช่สิ่งอื่น แต่เป็น ศักติ หรือพระอุมาเอง เช่นนี้แล้ว มีหรือที่อสูรตนใดจะต้านทานหอกแห่งพระขันทกุมารได้ อย่าว่าแต่อสูร แทตย์ หรือทานพร้ายกาจทั้งหลายเลย แม้แต่พระศิวะผู้เป็นมหาเทพเอง ก็ยังมิอาจต้านศักติของพระองค์ ไม่ว่าจะเป็นพระอุมา ทุรคา หรือกาลี
因此,烏瑪賜予坤陀古瑪爾的茅不僅僅是一件武器,更是她自身力量的象徵。憑藉這支槍,無論是惡魔、阿修羅,甚至是濕婆大天神自己,也無法抗衡其力量。
หมายเหตุ:
ตารกะ แปลว่า ‘ผู้ยังบุคคลให้ข้ามไปได้ยาก’ อีกนัยหนึ่งแปลว่า ‘ดาวน้อย, ดาวตก, แววตา’
塔拉卡 (Tāraka):意為「讓人難以跨越者」,另解為「星辰、流星、光芒」。
ศูรปัทมา แปลว่า ‘ผู้มีสีดั่งดอกบัวผู้กล้าแกร่ง’
蘇帕德瑪 (Sūrapadma):意為「擁有蓮花般色彩的勇者」。
สิงหมุขะ แปลว่า ‘หน้าสิงโต’
辛哈穆卡 (Siṃhamukha):意為「獅面者」。
พราหมณ์พรหมัน = พราหมณ์ผู้เป็นสักขีตลอดพิธีบูชาไฟแต่ต้นจนจบ ได้ยินพราหมณ์หมู่อื่นสวดมนตราสรรเสริญ ร่ายบทสังเวย ขับบทกล่อม และหมู่ตนมีหน้าที่บริกรรมคาถาอาถรรพณ์ พรหมันจึงเป็นพราหมณ์เพียงหมู่เดียวที่ชำนาญพระเวททั้ง ๔ คือ ฤจฺ ( = มนตรา) ยชุส สามัน และอถรรวัน
婆羅門·婆羅門那(Brahman)是從祭火儀式開始到結束,擔任見證的婆羅門。他能聽見其他婆羅門誦讀讚美的祈禱文、吟唱祭祀詩歌、演唱安撫神靈的頌詞,而自身則負責咏誦神秘的咒語。婆羅門那因此成為唯一一群精通四部《吠陀》的婆羅門,分別是:《梨俱吠陀》(Ṛc,或稱祈禱文)、《夜柔吠陀》(Yajus)、《娑摩吠陀》(Sāman) 和 《阿闥婆吠陀》(Atharvan)。
筆記:
沒有迴響